วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ZEN:MUSIC FOR BALANCE AND RELAXATION[FULL ALBUM]HD

http://www.youtube.com/v/W2yk1lsi9RM?autohide=1&version=3&attribution_tag=AVtYn5LvsT3ZMTu_JseiCw&feature=share&autoplay=1&autohide=1&showinfo=1

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มอก. 11-2533

                 เตรียมความพร้อมรับสายไฟฟ้า ตาม มอก.ใหม่ และมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่
มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่
เป็นมาตรฐานหลักสำหรับงานออกแบบและงานติดตั้งทางไฟฟ้า  ที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
  1. ออกแบบ (Design)
  2. ติดตั้ง(Installation)
  3. ตรวจสอบและทดสอบ(Inspection and Testing)

การเปลี่ยนแปลงหลักของหัวข้อคือ
1.การเปลี่ยนมาตรฐานสายฟ้าใหม่ (มอก) ซึ่งเป็นมอก.แบบบังคับในการผลิตสายไฟฟ้า จากเดิม มอก.11-2531  เป็น มอก.11-2553 (ประกาศ 2 พ.ย. 2555 มีผล 270 วัน(31 ก.ค.2555)
 ซึ่งมอก.11-2553 (ใหม่)จะอิงค์กับมาตรฐานสากลของ ISO ,IEC ,BSI     
มอก.11-2531(เก่า)                                          มอก.11-2553
มอก.11-2531(เก่า)มอก.11-2553

 ซึ่งสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก.11-2553(ใหม่)  จะเป็นสายไฟฟ้าแรงต่ำ  แบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.1ประเภท PVC  (มอก.11-2553,IEC 60227) ได้แก่  THW ,VAF ,VAF-G , NYY , NYY-G , NYY-SWA , VSF , VTF , VFF , VFF-GRD , VKF , VCT , VCT-GRD ,  
1.2ประเภท XLPE (IEC 60502) ได้แก่  CV 0.6/1KV , CV-SWA 0.6/1KV , CV 12/20(24)KV , CVV , CVV-S
1.3ประเภทอื่น เป็นสายตามมาตรฐาน กฟน.หรื กฟภ. ,  BS
2.การเปลี่ยนแปลงวงจรย่อย และการป้องกันกระแสเกิน แบ่งได้เป็น 3ประเภท ดังนี้
2.1 การแบ่งวงจรย่อยต้องมีการแบ่งเพิ่มเติมเป็น ไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร , เต้ารับภายในอาคาร , ภายนอกอาคาร  และแต่ละวงจรย่อยต้องมีการป้องกันกระแสเกิน ( เบรกเกอร์ , กันดูด จะมีบทบาทมากขึ้น)
2.2 ขนาดตัวนำของสายป้อนเข้าโหลดจะต้องไม่เล็กกว่า 4 ตร.มม. ( สายไฟฟ้า # 4 Sqmm จะมีบทบาทมากขึ้น)
2.3 การติดตั้งบริภัณฑ์ประธาน (Consumer Unit , Load Center ) 
  • ควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตร(บ้านชั้นเดียว) และจะต้องมีเบรคเกอร์กันรั่วต่อท้าย
  • ควรติดตั้งอยู่ชั้นลอยหรือชั้น2  (บ้าน2ชั้นขึ้นไป) และจะต้องมีเบรคเกอร์กันรั่วต่อท้าย
  • วงจรไฟฟ้าต้องต่อลงสายดินและต่อผ่านเครื่องตัดไฟรั่ว ( สายสีเขียว และตัวกันรั่ว จะมีบทบาทมากขึ้น)
3.มาตรฐานการต่อลงดิน  แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • สายไฟฟ้าที่ใช้กับ โรงมหรสพ สถานบริการ โรงแรม สายไฟฟ้าระบบแรงต่ำภายในอาคารจะต้องเป็นสายตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน แบบ ควันน้อย (Low Smoke) , ไร้ฮาโลเจน (non halogen) และต้านทานเพลิงลุกไหม้ (Flame or Fire retardant(Fire Resistance)  (สาย Maxfoh และสาย Lowsmoke จะมีบทบาทมากขึ้น)
  • การออกแบบระบบไฟฟ้าโรงมหรสพ สถานบริการ โรงแรม จะต้องมีไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินของ วสท. ( ไฟฉุกเฉิน และโคมป้ายทางออกฉุกเฉินจะเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในตลาด)

4.มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า
  • การเดินสายภายในอาคาร(ขนาดความสูง 23 เมตร) ห้ามเดินสายไฟฟ้าโดยวิธี เดินสายบนผิว เดินเปิดหรือเดินลอยบนวัสดุฉนวน ในช่องเดินสายอโลหะ (ท่อPVC )  ต้องใช้ท่อโลหะเท่านั้น(ท่อเหล็ก)
5.มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า แบ่งคุณสมบัติของสายได้เป็น 4 ประเภท
  • สายต้านทานการติดไฟ (Fire Resistance) ต้องใช้ตาม BS6387 (การทนไฟ  3 ชั่วโมง การทานไฟและน้ำ 15 นาที การทนไฟและทนแรงกระแทก 15 นาที) หรือ IEC 60331
  • ต้านทานเพลิงลุกไหม้ (Flame or Fire retardant) ต้องใช้ตาม IEC 60332-1
  • คุณสมบัติการปล่อยก๊าซกรด (Acids Gas Emission) ต้องใช้ตาม IEC 60754-2 (Zero Halogen)
  • คุณสมบัติการปล่อยควัน (Smoke Emission)ต้องใช้ตาม IEC 61034-2 
หัวข้อที่สอง สายไฟฟ้าตาม มอก.ฉบับใหม่ และการใช้งาน
1.       การกำหนดสีของสายไฟหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำ
  • ตัวนำนิวทรัลใช้สีฟ้า
  • สายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้า 3เฟส(สายกราวด์) ใช้สีน้ำตาล ดำ เทา
  • สายดินใช้สีเขียว,เขียวแถบเหลือง,เปลือย

    เปรียบเทียบสีของสายไฟฟ้า
มอก.11-2531
มอก.11-2553
เทาอ่อน
ขาว
ฟ้า
ดำ
น้ำตาล
แดง
ดำ
น้ำเงิน
เทา
เขียวแถบเหลือง
เขียว
เขียวแถบเหลือง
ยกเว้นสายที่มีขนาดตั้งแต่ 10 Sqmm อาจทำเครื่องหมายที่ปลายสายแทนการกำหนดสีได้
4.สายไฟจะถูกเปลี่ยนชื่อเรียก ดังนี้
พวกหลายแกนมี/ไม่มีสายดิน         เรียกใหม่               60227 IEC10 
THW                                    เรียกใหม่               60227 IEC01
NYY , VAF , VCT                    เรียกเหมือนเดิม
CV                                       เรียกใหม่               XLPE (IEC60502)
MI                                       เรียกเหมือนเดิม
5.สายไฟประเภท THW และสายจำพวก With Ground จะถูกกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ขนาด 2.5  Sqmmขึ้นไปเป็นอย่างต่ำ และในการติดตั้งบางประเภทถูกกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ขนาด 4 Sqmm (สายจำพวก With Ground เส้นกราวด์จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 2.5 Sqmmขึ้นไป เช่น VCT-GRD 2x2.5/1.5 Sqmm.(เดิม) จะต้องเปลี่ยนเป็น เช่น VCT-GRD 2x2.5/2.5Sqmm.เส้นกราวด์จะต้องไม่ต่ำกว่า2.5Sqmm) สายขนาด 1.5 Sqmm จะใช้น้อยลง
6.แนวโน้มการใช้สายในอนาคต จะเป็นพวกสายทนไฟ,สาย Non Halogen,สาย Low Smoke
7.การใช้ มอก.ใหม่ 
กรณีเป็นผู้ออกแบบให้ใช้ มอก.ใหม่ในการออกแบบเลย
- กรณีเป็นผู้ผลิต เริ่มผลิตตาม มอก.หม่ ในเดือนสิงหาคม 2556
- กรณีเป็นผู้รับเหมา อนุโลมให้เทียบชั้นสายไฟฟ้าของมอก.ใหม่ กับ มอก.เก่าใช้ได้เลย